สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ (2528, หน้า7) ได้ให้ความหมายของสภาพแวดล้อมในโรงเรียนอนุบาลว่า หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโรงเรียนปฐมวัยศึกษาที่แวดล้อมตัวเด็ก มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดและการเรียนรู้ของเด็ก
เบญจา แสงมลิ (2531 : 228) ได้ให้ความหมายของคำว่าสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาด้วยว่า “สถานศึกษาเด็กปฐมวัยเป็นสถานที่ที่จัดให้เด็กปฐมวัยอยู่รวมกัน และทำกิจกรรมร่วมกันอย่างเป็นสุข สะดวก สนุก สบายและปลอดภัย สภาพแวดล้อมจะมีทั้งสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน และสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน”
ขวัญจิรา ภู่สังข์ และคณะ (2543, หน้า 7) กล่าวถึงความหมายของสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาปฐมวัยว่า หมายถึง อาคารสถานที่และบริเวณโรงเรียนที่ใช้เป็นที่จัดการสอนและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน มีความสำคัญต่อนักเรียน และผู้ปฏิบัติงานในสถานศึกษา
ทัศนา แก้วพลอย (2544, หน้า197) กล่าวว่า การจัดสภาพในสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัย หมายถึง การจัดทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นวัสดุ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ รวมทั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษาปฐมวัย เพื่อส่งเสริมส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เกิดการเรียนรู้ให้เต็มศักยภาพ
จากความหมายข้างต้นที่กล่าวมา สามารถสรุปความหมายการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัยได้ว่าหมายถึง การจัดสภาพต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งภายในห้องเรียน ภายนอกห้องเรียน ช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้รับประสบการณ์จากการอยู่รวมกันทำกิจกรรมร่วมกันอย่างเป็นสุข สะดวก สนุก สบายและปลอดภัย ตลอดจนส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
การจัดสภาพแวดล้อมที่ดีที่เหมาะกับเด็กปฐมวัยนั้นจะช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็กตามแนวคิดการเรียนรู้ของเด็กตามแนวคิดของทฤษฏีของนักจิตวิทยา เช่น เฟรอเบล มอนเตสวอรี่ จอร์นดิวอี้ และเพียเจท์ ซึ่งให้ความเห็นตรงกันว่า เด็กเล็ก ๆ นั้นจะเรียนรู้โดยการลงมือกระทำในสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนและการกระตุ้นการตอบสนองของเด็กในโรงเรียนอนุบาลจึงมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน โดยมีการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักจิตวิทยาพัฒนาการและทฤษฎีการเรียนรู้ของเด็ก มีการจัดสื่อที่เหมาะสมเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้และได้รับประสบการณ์ตรง ส่วนทางด้านเนื้อหาจะจัดรวมกันในลักษณะการ
บูรณาการเป็นหน่วยการสอน และจัดให้เด็กเรียนรู้ในรูปแบบของกิจกรรมที่เปิดกว้าง เพื่อให้เด็กแต่ละคนเลือกทำตามความสนใจและความสามารถ โดยกำหนดประสบการณ์ดังกล่าวลงในตารางกิจกรรมประจำวัน ซึ่งมีการกำหนดระยะเวลาสำหรับการทำกิจกรรม แต่ละช่วงไม่นานเกินไป และเป็นกิจกรรมหนักเบาสลับกันตั้งแต่กิจกรรมในร่มและกลางแจ้ง การจัดสภาพแวดล้อมดังกล่าวจึงเป็นการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาทุก ๆ ด้าน เพื่อเป็นพื้นฐานของพัฒนาการในวัยต่อไป
แนวคิดพื้นฐานการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา
การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัยมีแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญหลายประการที่ต้องนำมาพิจารณาในการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาเด็ก แนวความคิดที่สำคัญได้แก่ แนวความคิดในการจัดสถานศึกษา แนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนา แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้และแนวความคิดเกี่ยวกับจิตสำนึกที่มีต่อสภาพแวดล้อม
1. แนวความคิดเกี่ยวกับการจัดศึกษากับการจัดสภาพแวดล้อม การจัดการศึกษาปฐมวัยได้ยึดแนวคิดของผู้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องเด็กกับการศึกษาระดับปฐมวัยหลายท่าน
รุสโซ ได้กล่าวถึงกิจกรรมด้านร่างกายมีความสำคัญมากในช่วง 5 ปีแรกของชีวิตเด็ก เด็กจะเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ซึ่งประสบการณ์ตรงถือว่าเป็นสภาพแวดล้อม นอกจากนั้นรุสโซยังเห็นคุณค่าของการเล่นที่มีต่อเด็กด้วย
เปตารอสซี เชื่อว่าเด็กแต่ละคนแตกต่างกันทั้งด้านความสนใจและอัตราการเรียนรู้ เด็กจะเรียนรู้และเข้าใจเมื่อเด็กมีความพร้อม และประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม
ดิวอี้ เชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อสภาพการเรียนการสอนเป็นสภาพที่อยู่ในชีวิตจริงของเด็ก โดยเน้นถึงเสรีภาพในการคิด การแสดงออก และการให้การศึกษาแกเด็กโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง
เฟรอเบล มีความเชื่อว่าการส่งเสริมการพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ใช้การเล่นและกิจกรรมเป็นเครื่องมือนอกจากนั้นการจัดสถานที่ สภาพแวดล้อมให้ร่มเย็นช่วยส่งเสริมการพัฒนาการของเด็ก
มอนเตสเซอรี่ มีความคิดแตกต่างจากเฟรอเบล บ้างเล็กน้อย มอนเตสเซอรี่มีแนวความคิดว่าการจัดกิจกรรมหรือการจัดประสบการณ์ให้เด็กควรให้เสรีภาพในการแสวงหาความรู้ และเป็นไปด้วยความสมัครใจ และควรคิดถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล สภาพแวดล้อมที่จัดให้เด็กคำนึงถึงความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก
เพียเจต์ มีแนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กว่าพัฒนาการแต่ละขั้นจะมีลักษณะบ่งชี้ถึงความปกติของพัฒนาการแต่ละขั้นนั้นๆ เด็กแต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะแต่ละด้าน วิธีการเรียนรู้แตกต่างกัน และวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือ การเรียนรู้ที่เกิดจากการเล่นและสิ่งที่เป็นรูปธรรมสภาพแวดล้อมที่จัดในสถานศึกษาจึงต้องมีหลากหลาย
จากแนวความคิดของนักการศึกษาที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าการจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นการจัดสภาพแวดล้อมให้แก่เด็กและการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัยต้องยึดหลักการและแนวความคิดของนักการศึกษา กล่าวคือ การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัยต้องยึดหลักเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้เด็กได้มีเครื่องเล่น ใช้การเล่นเป็นสื่อในการเรียนรู้ของเด็ก สภาพแวดล้อมที่จัดควรเป็นสภาพแวดล้อมที่ให้ประสบการณ์ตรง และให้เสรีภาพในการแสวงหาความรู้ตามความสามารถและความแตกต่างของแต่ละบุคคล
2. แนวความคิดเกี่ยวกับพัฒนาการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อม
พัฒนาการเริ่มต้นตั้งแต่การปฏิสนธิต่อเนื่องไปตลอดชีวิต พัฒนาการของคนแต่ละด้านเป็นไปตามลำดับขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ได้พัฒนาไปแล้วจะเป็นพื้นฐานของขั้นตอนที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น พัฒนาการแต่ละด้านของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกของชีวิตนั้น แม้จะมีลักษณะร่วมกันหลายประการ แต่ในพัฒนาการแต่ละด้านมีทฤษฎีเฉพาะอธิบายได้ แนวในการจัดสภาพแวดล้อม ในสถานศึกษาปฐมวัยต้องพิจารณาถึงทฤษฎีพัฒนาการเด็กด้วยจึงต้องจัดจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมแก่เด็กปฐมวัย
2.1 ทฤษฎีพัฒนาการทางกาย กีเซล (Gesell) อธิบายถึงพัฒนาทางกายที่มีรูปแบบที่แน่นอนและเป็นไปตามลำดับขั้น สภาพแวดล้อมมีส่วนช่วยส่งเสริมและต่อเติมพัฒนาการของเด็ก กีเซลเน้นถึงการเติบโตและลักษณะพัฒนาการของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ถึงแม้แบบแผนและขั้นตอนพัฒนาการจะเหมือนกัน พัฒนาการของเด็กเป็นกระบวนการที่ประสานสัมพันธ์กันทุกด้าน ทั้ง ร่างกาย จิตใจ ดังนั้น การพัฒนาของเด็กจึงต้องพัฒนาไปพร้อม ๆ กันทุกด้าน ทฤษฎีพัฒนาการทางกายของ กีเซลมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อมและการจัดกิจกรรมให้แก่เด็กในปัจจุบัน เพราะในสถานศึกษาปฐมวัยจะจัดสภาพแวดล้อมและกิจกรรมให้แก่เด็กโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาเด็กให้ครบทุกด้าน
2.2 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา เพียเจต์ (Piaget) เชื่อว่าพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมซึ่งมนุษย์จะซึมซับประสบการณ์และมีการปรับตัวและปรับโครงสร้างทางสติปัญญาเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ซึ่งโครงสร้าง ของสติปัญญาในอินทรีย์ต้องมีการปรับโครงสร้างให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมเช่นเดียวกับ บรูเนอร์ (Bruner) ได้แสดงความคิดเห็นตรงกับเพียเจต์ว่า การเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการภายในอินทรีย์ การเรียนรู้จะพัฒนาได้ดีเพียงใดขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก จากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของทั้งสองท่าน การจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องคำนึงถึงหลักการเรียนรู้ว่า การจัดสภาพแวดล้อมต้องจัดให้เด็กได้กระทำ สัมผัสด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้เด็กคิดจินตนาการ เกิดการเรียนรู้ และเริ่มเข้าใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่สัมพันธ์กันจนเกิดเป็นความคิดรวบยอดของสิ่งนั้น ๆ ที่เด็กได้พบเห็น
2.3 ทฤษฎีพัฒนาการทางจิตใจและอารมณ์ ทฤษฎีนี้ ออสูเบล (Ausubel) เห็นว่าเด็กมีอารมณ์ 2 ประเภท คือ อารมณ์ดีและอารมณ์ไม่ดี อารมณ์ของเด็กทั้งสองประเภทเกิดได้จากอิทธิพลของสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กซึ่งการพัฒนาด้านนี้จะมีผลต่อเนื่องไปถึงบุคลิกภาพของเด็ก
2.4 ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม สังคมและบุคลิกภาพ ทฤษฎีพัฒนาการจริยธรรม สังคม และบุคลิกภาพ มีบุคคลที่ให้แนวทางเกี่ยวกับทฤษฎีเหล่านี้คือ ฟรอยด์ (Freud) อิริคสัน (Erikson) และดิวอี้ (Dewey) ทั้งสามท่านกล่าวถึงการจัดสภาพแวดล้อมมีบทบาทในการพัฒนาเด็กเป็นอย่างมาก เด็กจะเรียนรู้สภาพแวดล้อมการกระทำของเด็กเอง การเรียนรู้และประสบการณ์ที่เด็กได้จากสภาพแวดล้อมจะมีส่วนสัมพันธ์กันอย่างมาก เพราะเด็กกำลังอยู่ในวัยที่รับรู้มีการเรียนแบบ ดังนั้นสภาพแวดล้อมต่าง ๆ จะมีผลต่อการพัฒนาทางจริยธรรม สังคม และบุคลิก-ภาพของเด็กเป็นอย่างมาก
3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อม จากการกำหนดนิยามของนักจิตวิทยาว่า “การเรียนรู้” หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลเนื่องจากการได้รับประสบการณ์หรือการฝึกฝน พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ ควรเป็นไปในลักษณะที่ค่อนข้างถาวร และจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมก็ได้
จากความหมายนี้ข้อความที่ระบุว่า พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเป็นผลจากการได้รับประสบการณ์ประสบการณ์ในที่นี้ได้จากสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เกิดตามธรรมชาติหรือตามสภาพที่ถูกจัดขึ้น
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่นักจิตวิทยาได้สรุปไว้มี 4 กลุ่มสำคัญ คือ กลุ่มปัญญานิยม กลุ่มมนุษย์นิยม กลุ่มพฤติกรรมนิยม และกลุ่มผสมผสานกลุ่มนักจิตวิทยา ทั้งสี่กลุ่มมีความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้แตกต่างกันในแต่ละแนวคิดซึ่งในที่นี้แนวคิดของกลุ่มปัญญานิยม และพฤติกรรมนิยมมีบทบาทเกี่ยวกับการเรียนรู้และการจัดสภาพแวดล้อมมากที่สุด ซึ่งจะอธิบายสั้น ๆ ดังนี้
กลุ่มปัญญานิยม ซึ่งนักจิตวิทยาที่สำคัญ คือ บรูเนอร์ (Bruner) และออสูเบล (Ausubel) ซึ่งเชื่อกันว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคลและจะพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาที่บุคคลได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในการจัดกิจกรรมการเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกให้มากที่สุด และครูควรจัดสภาพการณ์ต่าง ๆ เพื่อเอื้อให้เด็กได้ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง
กลุ่มพฤติกรรมนิยม นักจิตวิทยาที่สำคัญของกลุ่มพฤติกรรมนิยมคือวัตสัน (J. B. Watson) ธอร์นไดค์ (Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F. skinner) นักจิตวิยาเหล่านี้มีความเชื่อว่า การเรียนรู้ของมนุษย์นั้นเกิดจากการได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
จะเห็นได้ว่ากลุ่มนักจิตวิทยาปัญญานิยมและกลุ่มพฤติกรรมนิยม เน้นการเรียนรู้ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น สถานศึกษาปฐมวัยจึงควรพิจารณาจัดสถานศึกษาที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้แก่เด็กโดยจัดสภาพแวดล้อมที่จูงใจเด็กและบุคคลให้มาสถานศึกษา
4. แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างจิตสำนึกที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อม จิตสำนึกในเรื่องสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องต้องปลูกฝังให้แก่เด็กปฐมวัย การที่จะสร้างจิตสำนึกให้แก่เด็กได้ ครูควรต้องเข้าใจในเรื่องที่สำคัญ 2 เรื่อง คือ ความหมายของจิตสำนึก และการสร้างจิตสำนึกของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อม
4.1 ความหมายของจิตสำนึก คำว่า “จิตสำนึก” หมายถึง ภาวะที่จิตตื่นและรู้ตัวสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 (พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530) จิตสำนึกที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อมจึงพอสรุปความหมายสั้น ๆ ได้ว่าเป็นภาวะจิตสำนึกที่สามารถตอบสนองต่อการจัดสภาพแวดล้อมทั้งประสาทสัมผัสทั้ง 5
4.2 การสร้างจิตสำนึกของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อม จิตสำนึกของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ และครูผู้เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา ควรปลูกฝังและสร้างความรู้สึกและภาวะจิตที่ดีต่อการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาให้แก่เด็ก เช่น วิธีการดูแลรักษาสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ การถนอม การใช้ และ การจัดสภาพแวดล้อมให้สวยงามเป็นระเบียบ ไม่เป็นผู้ทำลาย และดูแลรักษาไม่ให้ถูกทำลาย การสร้างจิตสำนึกของเด็กต้องอาศัยระยะเวลา ความสม่ำเสมอ และมีต้นแบบที่ดี ในการสร้างจิตสำนึกมีขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นสร้างความตระหนัก ขั้นนี้ครูต้องทำให้เด็กมองสิ่งรอบ ๆ ตัวและตัวเด็กเองว่า สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาและตัวเด็กเองมีความสำคัญ เช่น ถ้าเด็กเห็นว่าห้องเรียนสกปรกจะทำให้ตัวเด็กสุขภาพไม่ดี ไม่สบายตาหรือสบายใจแต่ถ้าห้องเรียนสะอาด เขาจะมีความสบายตาสบายใจและมีผลทำให้เขามีสุขภาพดีขั้นให้ความรู้ ขั้นนี้ครูควรให้พื้นฐานเกี่ยวกับหน้าที่รับผิดชอบที่เขามีต่อสภาพ- แวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัย แนวทางในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อม ซึ่งขั้นนี้ครูควรให้เด็กเรียนรู้จากสภาพความเป็นจริงซึ่งอยู่รอบตัวเด็ก
2. ขั้นให้ความรู้ ขั้นนี้ครูควรให้พื้นฐานเกี่ยวกับหน้าที่รับผิดชอบที่เขามีต่อสภาพ- แวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัย แนวทางในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อม ซึ่งขั้นนี้ครูควรให้เด็กเรียนรู้จากสภาพความเป็นจริงซึ่งอยู่รอบตัวเด็ก
3. ขั้นสร้างเสริมเจตคติ การสร้างเสริมเจตคติสามารถทำได้โดยการสร้างค่านิยมในการใช้อุปกรณ์ เครื่องเล่นในสถานศึกษาอย่างประหยัด สร้างนิสัยให้เด็กเกิดความรู้สึกรับผิดชอบ รู้ผิดชอบชั่วดี โดยการให้เด็กเห็นตัวแบบที่ดีและฝึกปฏิบัติจริง เพื่อสร้างจิตสำนึกให้แก่เด็กควรทำหลาย ๆ วิธี และทำอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการย้ำและปลูกฝัง ทั้งนี้การปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกให้แก่เด็กต้องคำนึงถึงวุฒิภาวะ ความสนใจและความต้องการของเด็กปฐมวัยด้วย
จากความหมายของสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาและแนวคิดพื้นฐานในการจัดสภาพแวดล้อมพอสรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ว่า ในการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัยเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กครบทุกด้าน สภาพแวดล้อมควรเป็นสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นเด็ก จูงใจเด็ก และการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่จะส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กครบทุกด้านนั้น นักการศึกษา นักจิตวิทยาที่สำคัญหลายท่านเน้นความสำคัญของการเรียนรู้ว่าเด็กจะเกิดการเรียนรู้และพัฒนาได้นั้น สภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่จัดให้เด็กต้องยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง สภาพแวดล้อมที่จัดให้ประสบการณ์ตรงและจึงใจเด็กให้เด็กอยากเรียนรู้ เมื่อเด็กอยากเรียนรู้ เด็กจะอยากมาสถานศึกษา นอกจากนั้นสิ่งที่สถานศึกษาขาดไม่ได้คือการจัดประสบการณ์ต่าง ๆ ให้เด็กเกิดความรู้สึกที่จะช่วยจัดสภาพแวดล้อม ดูแลสภาพแวดล้อมให้เป็นระเบียบสวยงาม ถนอมดูแลและใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องเล่นอย่างถูกวิธี และไม่ทำลายสภาพแวดล้อม ตลอดจนดูแลรักษาไม่ให้ถูกทำลาย
ความสำคัญในการจัดของสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัย
ทัศนา แก้วพรอย (2544, หน้า 198-199) กล่าวถึงความสำคัญขอองการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ของเด็กว่า อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในสถานศึกษาปฐมวัยเป็นสิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าตัวครูที่สร้างความเจริญงอกงามและพัฒนาการทุกด้านให้กับเด็ก อีกทั้งยังมีอิทธิพลเหนือจิตใจและพฤติกรรม ตลอดจนขวัญกำลังใจในการทำงานให้กับบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา สภาพแวดล้อมในโรงเรียนปฐมวัยแบ่งออกได้ 2 ส่วน คือ สภาพแวดล้อมในส่วนที่เป็นบุคคล ได้แก่ ครู นักเรียน คนงานภารโรง สภาพแวดล้อมในส่วนที่เป็นวัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ อาคารสถานที่ ห้องเรียน สื่อวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์
ฟรอยด์ อิริคสันและเพียเจท์ เป็นการศึกษาที่เห็นความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาการของเด็ก ที่เห็นพ้องกันว่า สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เด็กได้รับในวัยเด็กย่อมส่งผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กในวัยต่อ ๆ มา การจัดภาพแวดล้อมที่ดีให้แก่เด็ก การจัดเครื่องเล่นและให้คำแนะนำที่ดี จะช่วยพัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาของเด็กอย่างยิ่ง
ช่วงชีวิตในวัยปฐมวัย เป็นช่วงชีวิตที่มีความสำคัญมาก เด็กจะพัฒนาและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้มากที่สุดในช่วงนี้ โดยเฉพาะเมื่อเด็กเข้ามาในสถานศึกษา เด็กจะได้รับการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา จากการปฏิบัติกิจกรรมซึ่งครูเป็นผู้จัดให้ นอกจากกิจกรรมและประสบการณ์แล้วอีกสิ่งหนึ่งซึ่งครูและสถานศึกษาเป็นผู้จัดให้แก่เด็ก คือ สภาพแวดล้อม การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและมีคุณค่า ทำให้เด็กได้ประสบการณ์ตรงเกิดการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับ ผู้อื่น จากสภาพแวดล้อมทางภายในและภายนอกห้องเรียนเด็กสามารถ ค้นคว้า ทดลอง สังเกต หาเหตุผลและขยายประสบการณ์ให้เด็กได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้เป็นแนวทางในการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กปฐมวัยส่วนหนึ่ง
การที่เด็กปฐมวัยจะเจริญเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประเทศชาตินั้น ขึ้นอยู่กับการ อบรมเลี้ยงดูที่เด็กได้รับในวัยปฐมวัย การจัดสภาพแวดล้อมมีผลต่อการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กอย่างมาก เริ่มต้นตั้งแต่สภาพแวดล้อมทางบ้านซึ่งมีพ่อแม่ ญาติ และผู้ใกล้ชิด คอยดูแล ลำดับต่อมาเป็นสภาพแวดล้อมนอกบ้าน สภาพแวดล้อมนอกบ้านที่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัยมาก คือ สภาพแวดล้อมในสถานศึกษา
ความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัยจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเด็ก ครูและบุคลากรอื่น ๆ เป็นอย่างมาก ดังนั้น สถานศึกษาจำเป็นต้องจัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องต่อความต้องการของเด็กและบุคลากรตามที่เน้นให้เห็นความสำคัญข้างต้น
วัตถุประสงค์ในการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัย
สถานศึกษาปฐมวัยเป็นสถานที่จัดสภาพแวดล้อมให้แก่เด็ก เล่น กิน นอนและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีความปลอดภัย และเกิดการเรียนรู้ การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัย ได้มีนักการศึกษาได้ให้ข้อคิดไว้หลายท่านดังต่อไปนี้
เบญจา แสงมลิ (2531) ได้แสดงให้เห็นวัตถุประสงค์ของการจัดสภาพแวดล้อมดังนี้
1. สร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และ
สติปัญญา และอำนวยความสะดวกให้แก่เด็ก ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
2. สร้างความสวยงาม มีระเบียบ ดึงดูดความสนใจของเด็กปฐมวัยและผู้ปกครอง
3. สนองจุดมุ่งหมายของการศึกษาระดับปฐมวัย
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา (2523) ได้กล่าวถึงจุดประสงค์สร้างความอบอุ่นมั่นใจ สนใจมาโรงเรียนและอยากมาโรงเรียน
สำหรับในเรื่องนี้สามารถสรุปได้ว่าจุดประสงค์ของการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัยจัดไว้มี 6 ประการ ดังนี้
1.เพื่อเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และ
สติปัญญา
2. เพื่อให้ความสะดวกให้แก่เด็กปฐมวัย ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาปฐมวัย
3.เพื่อสร้างบรรยากาศให้เด็กเกิดความอบอุ่น มั่นใจ สนใจรักและอยากมาสถานศึกษา
4.เพื่อช่วยผ่อนแรงและประหยัดเวลาแก่ครูในการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย
5.เพื่อช่วยตกแต่งสถานศึกษาให้สวยงามทำให้สถานศึกษาน่าสนใจ
6.เพื่อส่งเสริมสัมพันธ์ภาพระหว่างบ้านและสถานศึกษาปฐมวัย
จุดประสงค์ทั้ง 6 ข้อ เป็นจุดประสงค์ที่สำคัญถ้าพิจารณาแล้วการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัยมีจุดมุ่งเน้นที่จะจัดเพื่อให้สอดคล้องกับต้องการความสนใจของเด็กเป็นหลักและเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยและถ้าการจัดสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาปฐมวัยที่มุ่งหมายอำนวยความสะดวกแก่บุคลากรและผู้ปกครองจะทำให้สร้างเสริม สัมพันธ์ภาพที่ดีของสถานศึกษาและผู้ปกครองซึงเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
การศึกษาสังเกตการจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน
ในสถานฝึกปฏิบัติวิชาชีพครู
1. สภาพแวดล้อมภายในอาคาร
1.1 การจัดห้องต่างๆภายในโรงเรียน
สมร ทองดี ( 2547 : 87) กล่าวว่า ห้องเรียนควรมีลักษณะดังนี้
1.1.1 ต้องมีห้องเรียนครบตามจำนวนชั้นที่โรงเรียนจัด
1.1.2 ห้องเรียนควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 6 X 8 เฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ตารางเมตร ต่อนักเรียน 1 คน
1.1.3 ห้องเรียนควรมีแสงสว่างพอเพียงและเข้าถูกทิศทาง มีอากาศถ่ายเท
1.1.4 ประมาณ 2.25 ลูกบาศก์เมตรต่อนักเรียน 1 คน
1.1.5 หน้าต่างควรมีเพียงพอที่จะให้อากาศถ่ายเทได้และมีแสงสว่างพอเพียงขอบหน้าต่าง ควรมีความสูงพอให้เด็กมองเห็นทัศนีย์ภาพภายนอกห้องเรียน
1.1.6 พื้นห้องควรเป็นพื้นไม้หรือวัสดุที่เด็ก สามารถนั่งหรือนอนเล่นได้
1.1.7 ห้องเรียนต้องมีฝาผนังกั้นเป็นสัดส่วน ฝาผนังควรเป็นฝาผนังเรียบ ๆ ทาสีสวยงาม ควรทำสีสว่าง ๆ
1.1.8 ความสูงของเพดานห้องเรียนต้องไม่น้อยกว่า 2.8 เมตร
1.1.9 ภายในห้องเรียนควรมีอุปกรณ์ประกอบการสอน การเล่น ตลอดจนวัสดุครุภัณฑ์ที่อำนวยความสะดวกให้ครู นักเรียนเพียงพอ ถ้าเป็นไปได้ควรมี ห้องน้ำ ห้องส้วม อยู่ติดกับห้องเรียนด้วยซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ต้องมีขนาดและติดตั้งที่เหมาะสมกับเด็กรวมทั้งควรมีอ่างล้างมือด้วย
1.1.10 ห้องอื่น ๆ โรงเรียนอนุบาลควรมีห้องพิเศษนอกเหนือจากห้องเรียน ดังต่อไปนี้
1.1.10.1 ห้องพยาบาล 1 ห้อง เตียงพยาบาลอย่างน้อย 2 เตียง มีตู้ยาและเครื่องใช้สำหรับปฐมพยาบาลอย่างเพียงพอ ควรจะมีพยาบาลประจำโรงเรียนอย่างน้อย 1 คน
1.1.10.2 ห้องสมุดพร้อมทั้งอุปกรณ์และหนังสือ ถ้าไม่สามารถจัดห้องสมุดได้ ควรจัดมุมใดมุมหนึ่งหรับเป็นมุมอ่านหนังสือ โรงเรียนอนุบาลที่มีชั้นประถมศึกษาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะแยกห้องสมุดเป็นเอกเทศ
จากการที่ผู้สังเกตได้ไปศึกษาสังเกตสภาพแวดล้อมภายในอาคารการจัดห้องเรียน ภายในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ พบว่า ทางโรงเรียนได้แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ อนุบาล 1-3 ระดับละ 2 ห้อง และมีห้องบริบาลอีก 1 ห้อง
หน้าห้องเรียนแต่ละห้องจะมีชั้นว่างรองเท้าไว้ให้เด็ก และโต๊ะรับประทานอาหารอยู่หน้าห้อง
1.2 การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน
ห้องเรียนเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการเรียนรู้ทางสังคมให้แก่เด็ก ทั้งนี้ตามแนวคิดของมอนซอรี่ บรูเนอร์ เพียเจท์ และนักศึกษาปฐมวัยเชื่อว่าเด็กเล็ก ๆ ควรได้เรียนจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้นห้องเรียนจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้นห้องเรียนสำหรับเด็กควรเป็นห้องทีกระตุ้นให้เด็กสนใจและตอบสนองการเรียนรู้ หลัการจัดห้องดังกล่าคำนึงถึงการให้โอกาสเด็กได้การจัดกระทำกับวัตถุ และมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกลุ่ม ดังนั้น ห้องเรียนจึงมีลักษณะเปรียบเหมือนห้องฝึกงาน เพราะเด็กจะมีการทำกิจกรรมอยู่เสมอ ขณะเดียวกันในห้องเรียนจะมีมุมสงบสำหรับการผักผ่อนเป็นที่คลายอารมณ์หรือทำงานเงียบ ๆ ลักษณะห้องเรียนแบบนี้ช่วยเด็กในด้านการพัฒนาทางสังคม เพราะนอกจากเด็กจะได้มีปฎิสัมพันธ์กันธรรมชาติขณะที่เรียนและเล่นด้วยกันแล้ว ยังมีปฎิสัมพันธ์จากกิจกรรมที่ครูได้จัดไว้ในห้องเรียนแบบที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะจัดเนื้อที่สำหรับเด็กให้มีโอกาสทำงาน ทั้งตามลำพัง ทำงานเป็นกลุ่ม และทำงานร่วมกันทั้งชั้น ( Walas. 1980 : 86-88)
เยาวภา เดชะคุปต์ ( 2542 :129) กล่าวว่า การจัดอาคารสถานที่และห้องเรียนสำหรับเด็ก
ปฐมวัย (indoor space) คำนึงถึงว่า เด็กมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ความต้องการในการใช้เนื้อที่จึงแตกต่างกัน เพราะเด็กเล็กจะเคลื่อนไหวรวดเร็วและต้องการเนื้อที่มาก ห้องเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยควรจะมีขนาดใหญ่พอที่เด็กจะทำงานและอยู่รวมกับผู้อื่นโดยไม่รู้สึกอึดอัด การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนควรให้มีชีวิตชีวา มีสภาพคล้ายบ้าน และมีความยึดหยุ่น รูปร่างของห้องเรียนควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทั้งนี้เพื่อให้เด็กเคลื่อนไหวและทำกิจกรรมได้สะดวก ห้องเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยควรอยู่ติดพื้น และไม่ควรมีซอกมุมที่เด็กจะหลบซ่อนได้ และควรมีห้องน้ำและอ่างล้างมือไว้ในห้อง ประตูทางเข้าควรอยู่ระดับเดียวกับพื้นถนน ขนาดห้องเรียนควรใหญ่พอที่เด็กจะพัฒนากล้ามเนื้อให้ใหญ่ได้ ห้องเรียนที่เหมาะสมควรมีขนาด 40 x 60 ตารางฟุตต่อเด็ก 1 คน ควรมีเนื้อที่นอกห้องเรียนที่ใช้เป็นสนามเด็กเล่น และบริเวณที่ใช้สำหรับปลูกต้นไม้หรือทำสวนครัว
ภายในห้องเรียนควรมีบริเวณที่เด็กจะทำงานคนเดียวได้ ซึ่งควรจัดเป็นเอกเทศแยกจากเด็กอื่นๆ โดยให้เด็กสามารถทำงานคนเดียวหรือกับครูโดยใช้สมาธินาน ๆ ได้ โดยบริเวณดังกล่าวอาจจะใช้สำหรับทดสอบเด็กทั้งเดี่ยวและกลุ่มได้ บริเวณดังกล่าวนี้อาจจะใช้ชั้นวางหนังสือหรือฉากเตี้ย ๆ กั้นเป็นสัดส่วน แต่ให้อยู่ในสายตาของครูที่จะมองเห็นได้ การจัดห้องเรียนสำหรับเด็กควรจัดเป็นห้องเรียนขนาดใหญ่มากกว่าห้องเล็ก ๆ หลายห้องทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนบุคลากรที่มีอยู่
นอกจากนี้ถ้าห้องเรียนมีเนื้อที่ต่างระดับก็ควรนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น ใช้เฉลียงสำหรับฟังนิทาน เป็นต้น ภายในห้องเรียนควรจัดศูนย์การเรียน มุมต่าง ๆ หรือบริเวณที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งก่อนจะจัดครูควรที่จะพิจารณาถึงทิศทางการเคลื่อนที่ว่าจะให้เด็กเคลื่อนที่ไปอย่างไร โดยไม่ให้รบกวนกัน ซึ่งมีวิธีจัดการได้หลายวิธี เช่น เอาชั้นสำหรับวางหนังสือนิทานวางรอบ ๆ พรมหรือวางข้างหลังโต๊ะครู เพื่อให้ครูได้ใช้สั่งสอนเด็กเป็นรายบุคคล หรือการใช้กล่องขนาดใหญ่มาเป็นที่เก็บของ
ครูควรให้ความสนใจกับการจัดเนื้อที่โต๊ะ เก้าอี้ หรือ เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ด้วย ซึ่งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่สำคัญเท่ากับพื้นที่โลง ๆ ว่าง ๆ ที่เด็กจะเคลื่อนไหวได้สะดวก ศูนย์การเรียนควรจัดไห้มีความยึดหยุ่นให้มากที่สุด โดยครูจำไว้ว่าจะจัดห้องเรียนให้เหมาะสมกับเนื้อที่ที่มีอยู่และใช้เนื้อที่ทุกตารางนิ้วที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดได้อย่างไร
1.2.1 แนวทางในการจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน
อรุณี หรดาล (2548 : 53-56) ได้แบ่งการจัดสภาพแวดล้อมในห้อเรียนออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้
1.2.1.1การจัดการชั้นเรียนทางกายภาพ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่ครูต้องคำนึงถึงพื้นที่ห้อง อุปกรณ์การเล่น สิ่งของเครื่องใช้จำเป็นที่เด็กต้องใช้ การจราจรในห้องเรียน รวมทั้งห้องน้ำสำหรับเด็ก สิ่งสำคัญประการแรกคือครูต้องคำนึงถึงคือ การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนควรเอื่อให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาจจัดเป็นห้องโล่งกว้างหรือใช้ฉากตู้กั้นเป็นห้องเล็ก ๆ ซึ่ง คล็อก (อรุณี หรดาล 2548 : 53-56 ; อ้างอิงจาก Krogh. 1994:360) กล่าว่า การจัดพื้นที่ในห้องเรียนเด็กปฐมวัยควรมีความสมดุลกันระหว่างพื้นที่เปิดกว้างให้เด็กได้ทำงานเป็นกลุ่ม มีอิสระในการเคลื่อนย้าย และพื้นที่ปิดที่จะช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัยและเป้นส่วยตัว โดยมีองค์ประกอบของการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนดังนี้ 1.2.1.1.1ใการจัดพื้นทีในห้องเรียน ครูควรพิจราณาลักษณะของกิจกรรมที่จะให้เด็กทำ ถ้าครูต้องการสนทนาหรือเล่านิทานเป็นกลุ่มย่อยควรจัดที่นั่งเป็นครึ่งวงกลม ถ้าต้องการให้เด็กมีปฎิสัมพันธ์กัน ทำงานร่วมกัน อาจจัดเป็นมุมประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น มุมบล็อก มุมบทบาทสมมุติ มุมอิสระ มุมเครื่องเล่นสัมผัส มุมหนังสือ มุมธรรมชาติศึกษา
1.2.1.1.2 การจัดจราจรในห้องเรียน เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ครูต้องคำนึงถึงเพื่อเอื้ออำนวยความสะดวก เมื่อเด็กต้องการเปลี่ยนกิจกรรมหนึ่ง มีความปลอดภัยขณะทำกิจกรรมและประหยัดเวลา ครูต้องพิจารณาทั้งทั้งพื้นที่และอุปกรณ์ของเล่นในกิจกรรมนั้น เช่น หลังจากเด็กทำกิจกรรมศิลปะแล้ว เด็กต้องเอาผลงานไปวางไว้ให้แห้ง แล้วจึงเอาผลงานนั้น ๆ มาเล่าให้เพื่อนฟัง จากนั้นเอาผลงานมาติดแสดงในที่ที่ครูกำหนด พื้นที่ต่าง ๆ เหล่านี้ควรอยู่ใกล้กันเพื่อความสะดวกและประหยัดเวลา
1.2.1.1.3 การจัดเก็บอุปกรณ์ของเล่นของใช้ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นมากสำหรับห้องเรียนอนุบาล อุปกรณ์และของเล่นสำหรับเด็กมี 2 ลักษณะคือ อุปกรณ์ของเล่นของใช้ที่เด็กต้องใช้ในการทำกิจวัตรและกิจกรรมประจำวัน และอุปกรณ์ของเล่นของใช้ที่ยังไม่จำเป็นต้องใช้ในขณะนี้ ต้องการเก็บไว้ชั่วคราวเพื่อใช้ในโอกาสต่อไป การเก็บของทั้ง 2 ลักษณะนี้ ควรแตกต่างกัน กล่าวคือ ของใช้ประกอบการทำกิจวัตรประจำวันควรไว้ในชั้นเปิดในระดับความสูงที่เด็กสามารถหยิบได้เอง มีสัญลักษณ์บอกไว้เพื่อช่วยให้เด็กจัดเก็บเข้าที่เดิมได้สะดวกไม่หลงลืม แยกจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ อย่างเป็นระบบ หยิบใช้ได้สะดวก และสวยงาม สำหรับสิ่งของที่ต้องการเก็บไว้ชั่วคราวควรจัดเก็บไว้ในชั้นปิด และจดบันทึกไว้ว่าจัดเก็บอะไรไว้บ้าง ไม่ควรใส่ของมากจนเต็มรื้อค้นรำบาก
การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนทางกายภาพมิได้มุ่งให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ความสะดวกและความปลอดภัยในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเท่านั้น แต่ยังมุ่งให้ความสวยงาม และเป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อสร้างเสริมลักษณะนิสัยให้แก่เด็ก ครูอาจใช้ภาพถ่าย ผลงานเด็ก ต้นไม้ โมบาย ช่วยตกแต่งห้องเรียน
1.2.1.2 การจัดการในชั้นเรียนทางจิตภาพ มุ่งเน้นที่การสร้างบรรยากาศในห้องเรียนที่จะเอื้อให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีปัญหาความวุ่นวายเกิดขึ้น เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์และได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ ( อรุณี หรดาล. 2548 : 55; อ้างอิงจาก Whitebread. 2003 : 43-44) กล่าวว่า บรรยากาศดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต้องประกอบด้วยปัจจัย 3 ประการ คือ สิทธิ กฎกติกา และความรับผิดชอบ
1.2.1.2.1 สิทธิ หมายถึง สิทธิต่าง ๆ ที่เด็กควรได้รับประกอบด้วย สิทธิที่จะอยู่ในห้องอย่างปลอดภัย สิทธิที่จะกระทำต่าง ๆ ในขอบเขตของตน สิทธิจะสื่อสารกับบุคคลรอบข้าง สิทธิที่จะเรียนรู้ตามความสนใจและความต้องการ สอทธิที่จะเคลื่อนไหวหรือในที่ต่างๆในห้องเรียน และสิทธิที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
1.2.1.2.2 กฎกติกา หมายถึง ข้อตกลงร่วมกันที่จะช่วยให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและสามารถควบคุมตนเองได้ กฎกติกาในห้องเรียนควรมีลักษณะดังนี้ คือมีไม่มากเกิดนไป เขียนในทางบวก สมาชิกมีส่วนร่วมในการกำหนด ยุติธรรม แน่นอนคงเส้นคงวาอยู่บนพื้นฐานของสิทธิ
1.2.1.2.3 ความรับผิดชอบ หมายถึง การกำหนดตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยไม่ต้องมีการตักเตือน ความรับผิดชอบและสิทธิควรควบคู่กันไป เมื่อเด็กมีสิทธิต้องมีหน้าที่ควรรับผิดชอบในเรื่องนั้น ๆ ด้วย
สรุป การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนหรือการจัดการในชั้นเรียน เป็นการจัดเป็นมุมประสบการณ์ต่าง ๆเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้และสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ เกิดพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในด้านต่าง ๆ โดยคำนึงถึงจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ สื่อ อุปกรณ์ และของเล่น วัยของเด็ก จำนวนเด็ก และขนาด/ลักษณะของชั้นเรียน ทั้งกายภาพและจิตภาพ
1.3 ความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน
จากการที่ผู้สังเกตได้ไปสังเกตความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนอนุบาล พบว่า พื้นห้องเรียนปูด้วยกระเบื้องไม่ได้ปูด้วยแผ่นยาง เนื่องจากในห้องเรียนเป็นพื้นกระเบื้องไม่เหมาะที่จะให้เด็กวิ่งเล่นภายในห้องเรียน เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายขณะเด็กทำกิจกรรมได้ ประตูเปิดยากเพราะเป็นประตูกระจก ดังนั้นต้องให้ครูเป็นผู้เปิดให้เด็ก เฟอร์นิเจอร์ต่างๆไม่แหลมคม ปลั๊กไฟอยู่สูงพ้นมือเด็ก ผงซักฟอกและสารเคมีต่างๆอยู่พ้นมือเด็ก สภาพห้องเรียนมีความสะอาด ครูประจำชั้นทำความสะอาดทั้งตอนเช้าก่อนเด็กมาโรงเรียนและตอนเย็นหลังเด็กเลิกเรียนกลับบ้าน บริเวณห้องเรียนมีแสงสว่างเพียงพอ ห้องเรียนทุกห้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เด็กจะได้เรียนหรือทำกิจกรรมในห้องเรียนปรับอากาศทุกทัน ซึ่งอาจทำให้เด็กได้รับเชื้อโรคง่ายหรือแพร่กระจายเชื้อโรคสู่ผู้อื่นง่าย ครูควรเปิดหน้าต่างให้เด็กได้สัมผัสกับธรรมชาติและอากาศยามเช้า ห้องเรียนอนุบาลนั้นห่างเส้นทางจราจร